top of page
  • รูปภาพนักเขียนbenbenn

4 โรคต่างๆ ในกะหล่ำปลีและผักกาดต่างๆ ที่เกษตรกรควรรู้


กะหล่ำปลี หรือ กะหล่ำใบ เดิมแล้วมีถิ่นกำเนิดอยู่แถบเมดิเตอเรเนียน โดยกะหล่ำปลีจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ กะหล่ำปลีธรรมดา , กะหล่ำปลีแดง, กะหล่ำปลีใบย่น ในการปลูกควรระวังโรคที่มักจะเกิดขึ้นกับกะหล่ำปลีและผักกาดต่างๆ มาดูกันว่ามีโรคอะไรบ้างและมีวิธีการป้องกันและรักษาอย่างไร

1.โรคเน่าเละของผักกาดหัว (Soft rot of chinese radish)



สาเหตุ : เกิดจากเชื้อบัคเตรี Erwinia carotovora

อาการ : เริ่มอาการของโรคเป็นจุดชํ้านํ้า ซึ่งจะเน่าอย่างรวดเร็ว ทําให้เนื้อเยื่อเปื่อยและเป็นนํ้าภายในเวลา 2-3 วัน ผักจะเน่ายุบหายไปหมดทั้งต้นหรือหัว หรือฟุบแห้งเป็นสีนํ้าตาลอยู่ที่ผิวดิน อาการเน่าจะเกิดขึ้นที่ส่วนใดก่อนก็ได้แต่โดยปกติจะเริ่มที่โคนก้านใบหรือตรงกลางต้น


2.โรคเน่าดําของกะหลํ่าปลี (Black rot of cabbage)



สาเหตุ : เกิดจากเชื้อบัคเตรี Xanthomonas campestris

อาการ : ขอบใบแห้งเข้าไปเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีปลายแหลมชี้ไปที่เส้นกลางใบ เนื้อเยื่อที่แห้ง มีเส้นใบสีดําเห็นชัดเจน ทําให้ใบเหลืองและแห้ง อาการใบแห้งจะลามลงไปถึงเส้นกลางใบ และลุกลามลงไปถึงก้านใบและใบอื่นๆ ทั่วกันด้วย เกิดอาการใบเหี่ยวและแห้งตายไป ผักจะชะงักการเจริญเติบโตต้นอาจถึงแก่ความตายด้วย


3.โรคโคนก้านใบ และต้นเน่าของผักกาดเขียวปลี (Stem canker of Rhizoctonia rot of chinese mustard)



สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani

อาการ : ลําต้นระดับดินและโคนก้านใบมีเชื้อราสีขาวนวลขึ้นเป็นแผลวงกลมหรือรูปไข่ ซึ่งขยายกว้างออก ไป และเนื้อเยื่อตรงกลางแผลเน่าบุ๋มลึกลงไปคล้ายขนมครก และมีสีนํ้าตาลอ่อน หรือสีนํ้าตาลแก่ เชื้อราจะค่อยๆ ลามเข้าไปภายใน ทําให้กาบใบที่อยู่ข้างในมีแผลเน่าด้วย ใบที่มีแผลใหญ่ที่โคนจะเหี่ยว และหักหลุดไปตรงแผล ต้นอาจตายได้ถ้าเชื้อราทําลายโคนใบและลําต้นหมด มักจะเกิดในแปลงที่มีการระบายนํ้าไม่ดี ในแปลงกล้าผักจะมีโรคนี้ระบาดด้วย ผักจะเน่าเร็วขึ้นเมื่อมีเชื้อบัคเตรีที่ทําให้เกิดอากาารเน่าเละ เข้ามาภายหลัง


4.โรคแผลวงกลมสีนํ้าตาลไหม้ของคะน้า (Leaf spot of chinese kale)



สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Alternaria sp.

อาการ : ใบมีแผลวงกลมสีนํ้าตาลซ้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อรอบๆ แผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ขนาดของแผลมีทั้งใหญ่และเล็กบนแผลมักจะมีเชื้อราขึ้นบางๆ มองเห็นเป็นผงสีดํา ผักบางชนิดและบางพันธุ์มีแผลที่ก้านใบเป็นจุด หรือแผลรูปวงกลมรีสีนํ้าตาลดํา เนื้อเยื่อบุ๋มลงไปเล็กน้อย ในที่บางแห่งพบแผลวงกลมบนฝักอ่อนด้วย ทําให้ฝักอ่อนแห้งเป็นสีนํ้าตาล ใบแก่ที่อยู่ตอนล่างมักจะเป็นโรคมากกว่า

การป้องกันและรักษา

-ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปลอดโรค หรือนำไปฆ่าเชื้อโดยใช้น้ำอุ่น 50 องศา แช่ไว้ประมาณ 20-25 นาที

- นำซากพืชที่ตายแล้วออกนอกแปลงหรือเผาทิ้ง

-ถ้าเกิดโรคระบาดปลูกพืชหมุนเวียน

- ฉีดพ่นยาป้องกันโรค แนะนำ สารคุมโรค ยับยั้งเชื้อราและไวรัส ฟาร์มมีฝาแดง ช่วยในการยับยั้งเชื้อราในพืชทุกชนิด แก้ปัญหา โคนเน่า เชื้อรา นำมาผสมน้ำแล้วฉีดพ่นที่ใบหรือราดที่โคนต้นได้เลย

ปัญหาโรคพืชก็จะหมดไปหากเกษตรกรรู้จักสังเกตและรู้วิธีป้องกันและรักษา กะหล่ำปลีและผักกาด ก็จะเติบโตมีผลผลิตที่ดีให้เก็บเกี่ยวมากมาย


ดู 7 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page